Discarded Fishing Gear and the Birth of MARsCI

(see below for Thai)

by Supatcha Japakang

Marine debris is one of the anthropogenic water pollutions that is currently going on around the world and negatively affects most underwater creatures. Neither tiny phytoplankton, gigantic whales, nor us humans cannot evade these consequences .

 

These days, most people may recognize the impacts of single-use plastic through several public awareness campaigns. However, little to none has mentioned that the discarded and derelict fishing gear (DFG), another type of marine debris that also causes devastating effects, is abandoned into the ocean at quantities of around 0.5-1 million tonnes a year (Jambeck et al., 2015). These gears can cause entanglement with marine life and lead to severe issues.

 

Several causes are leading to the DFG problem. For instance, fishing vessels may accidentally lose their gears because of poor weather conditions. Sometimes fishing gear could not be retrieved and inevitably discarded into the ocean (Macfadyen et al., 2009; Richardson et al., 2018). The waste disposal systems often are also ineffective and unaffordable, which means fishermen have to be responsible for the cost ontheir own waste gear. Furthermore, the situation has been greatly exaggerated in the past fifty years due to the expansion of the fishing industry accommodating the increasing consumption of the world population. Meanwhile, the material used for making fishing gears also shifted from natural biodegradable material to persistent synthetic material, mainly plastic (Macfadyen et al.,2009).

 

Why is the DFG issue terrifying?

Besides contributing to the marine debris issue, some types of DFG still continue capturing underwater creatures, often referred to as ghost fishing. The study from Kuhn et al. (2015) showed that more than a quarter of seabird species, one-third of baleen whales, and half of the seals are adversely affected by entanglement with DFG. Even sharks, the top predator of the food chain, are threatened (Parton et al., 2019). The coral reef, one of the most magnificent and important habitats in our ocean and acts as a nursery for various aquatic animals, is also heavily impacted by DFG. Once they are entangled with fishing gear, coral tissues are potentially damaged and get infected. The weight of fishing gear combined with wave action can cause fragmentation too. Lastly, hermatypic corals may suffer from insufficient light and are likely to bleach if they are covered.

 

How can citizen science help cope with the DFG issue?

In order to diagnose the cause and evaluate the impact of DFG, gathering data is also one of the crucial components. However, reaching out to every square meter of the ocean regularly for data collection is nearly impossible for scientists. Thus, the use of citizen science can help expand that boundary and increase the quantity of baseline data for researchers to analyze (read more about citizen science). The method of citizen science also benefits by raising general public awareness about environmental issues and conservation. Hence, the Marine science Citizens Initiative (MARsCI) was founded and aimed at bridging the gap between the marine recreational community and academics to share valuable information and observations in Thai waters about DFG and its impact.

 

The MARsCI protocol

These five steps of DFG data collection and removal were designed for certified SCUBA divers who are able to identify marine species and trained to remove derelict fishing safely. Firstly, the diver must collect the preliminary data which includes the date, location, types of gear found, and the substrate type. Then they must do a safety assessment both by visual and physical inspection. The third step is species identification and quantification of entangled fauna gollowed by safe removal and measurement.

(more information about the protocol)

 

As a conclusion, discarded and derelict fishing gear is a large-scale problem that harms a great number of marine animals. The major causes of DFG are unintentional loss due to inadequate weather and ineffective disposal facilities. We as humans using natural resources to sustain our lives should be aware and help contribute to conserve this precious ecosystem.


 

----------------------------------------------------------------------------------------------------

ปัญหาขยะทะเลเป็นหนึ่งในมลภาวะที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์และส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรเป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นแพลงก์ตอนพืชตัวน้อยหรือวาฬขนาดใหญ่มโหฬารก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ หรือแม้กระทั่งมนุษย์อย่างเราก็ยังต้องเผชิญหน้ากับผลลัพธ์ที่ตนก่อไว้

 

ปัจจุบันผู้คนส่วนมากเริ่มรับรู้และตระหนักถึงปัญหาของพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งอย่างเช่น ขวดน้ำ หลอด และถุงพลาสติก ผ่านโครงการรณรงค์ต่าง ๆ แต่นอกจากขยะชนิดที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นปัญหาหลักและก่อให้เกิดปัญหารุนแรงในทะเลนั่นก็คือ “เครื่องมือประมงที่ถูกทิ้งหรือสูญหาย (discarded and derelict fishing gear: DFG)” เครื่องมือเหล่านี้ถูกทิ้งลงมหาสมุทรราวกว่า 0.5 - 1 ล้านตันต่อปี (Jambeck et al., 2015) และมีโอกาสที่จะติดพันกับสัตว์น้ำซึ่งอาจนำไปสู่อันตรายถึงชีวิต


เครื่องมือประมงเหล่านี้อาจสูญหายโดยไม่ได้ตั้งใจเนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่ดีนักระหว่างการทำการประมง หรือบางครั้งอาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเก็บกู้เครื่องมือประมงขึ้นมาได้ จึงจำเป็นที่จะต้องทิ้งเครื่องมือเหล่านั้นไป (Macfadyen et al., 2009; Richardson et al., 2018) นอกจากนี้แล้ว การขาดระบบการจัดเก็บและทิ้งที่มีประสิทธิภาพไม่เอื้อต่อการเข้าถึง ชาวประมงเองยังต้องเป็นผู้แบกรับค่าใช้จ่ายก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มีเครื่องมือประมงถูกทิ้งลงทะเลมากขึ้น ประกอบกับในช่วงระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมาตัวเลขการทำประมงนั้นมีมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการบริโภคของประชากรโลก และการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือการทำประมงให้มีความแข็งแรงคงทนและสามารถยืดอายุให้ยาวนานได้มากขึ้น (เปลี่ยนจากวัสดุธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้มาใช้พลาสติกเป็นองค์ประกอบหลัก) ทำให้ผลกระทบของเครื่องมือประมงที่ถูกทิ้งหรือสูญหายนั้นขยายเพิ่มขึ้นเป็นวงกว้างและในระยะยาว (Macfadyen et al., 2009)

ทำไมเครื่องมือประมงที่ถูกทิ้งลงมหาสมุทรจึงเป็นปัญหาที่น่ากลัว?

นอกจากจะเป็นขยะในทะเลแล้ว เครื่องมือประมงบางชนิดที่ถูกทิ้งยังคงประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำได้อยู่กล่าวคือ ปลา เต่าทะเล หรือสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ อาจมีโอกาสเข้าไปติดพันกับเครื่องมือ ทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ เครื่องมือเหล่านี้สามารถดำเนินการจับสัตว์น้ำได้ต่อไปเรื่อย ๆ (ghost fishing) จนกว่ามันจะสูญสิ้นสภาพ จากการศึกษาของ Kuhnet al. (2015) พบว่ามากกว่าหนึ่งในสี่ของนกทะเล มากกว่าครึ่งหนึ่งของแมวน้ำและหนึ่งในสามของวาฬพวกที่กรองกิน (baleen whale) ได้รับผลกระทบจากเครื่องมือประมงที่ถูกทิ้งเป็นอย่างหนัก แม้กระทั่งฉลามที่ผู้ล่าลำดับสูงสุดของห่วงโซ่อาหารก็ได้รับผลกระทบจากการเกี่ยวพันกับเครื่องมือเหล่านี้ด้วยเช่นกัน (Parton et al., 2019) ปะการังซึ่งถือว่าเป็นระบบนิเวศหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในมหาสมุทรเพราะเป็นแหล่งอาหาร แหล่งอนุบาล และแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิดก็ต่างได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน เครื่องมือประมงทำให้เนื้อเยื่อของปะการังเกิดความเสียหายและอาจนำไปสู่การติดเชื้อได้ ยิ่งไปกว่านั้นชิ้นส่วนของปะการังมีโอกาสแตกหักได้ง่ายมากขึ้นเมื่อเผชิญกับคลื่นถ้าหากมีเครื่องมือประมงติดอยู่ (Ballesteros et al., 2018) นอกจากนี้แล้วอย่างที่เราทราบกันดีว่าสาหร่ายซูแซนเทลลีแหล่งพลังงานหลักของปะการังแข็ง จำเป็นต้องใช้แสงในการสร้างพลังงานการที่มีผืนอวนปกคลุมทำให้โอกาสที่ปะการังจะเกิดการฟอกขาวเพิ่มสูงขึ้น

 

วิทยาศาสตร์พลเมือง (citizen science) จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างไร?

การเก็บข้อมูลเพื่อนำไปทำการศึกษาวิจัยถึงสาเหตุและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ได้เนื่องจากปัจจัยที่จำกัดหลากหลายอย่าง ดังนั้น “วิทยาศาสตร์พลเมือง” คือการที่ประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเก็บข้อมูลตามกรอบที่นักวิทยาศาสตร์กำหนดทิศทางการศึกษาไว้ จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการทำการศึกษา เนื่องจากมีจำนวนข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำไปวิเคราะห์ได้มากขึ้น (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พลเมือง) นอกจากนี้แล้วยังเป็นการเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ในภาคประชาชนอีกด้วย โครงการ Marine science Citizens Initiative (MARsCI) จึงถูกจัดตั้งขึ้นเป็นตัวเชื่อมระหว่างนักดำน้ำสันทนาการและนักวิชาการเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสำรวจที่จะเป็นประโยชน์ต่อทรัพยากรทางทะเล ข้อมูลที่ได้จะถูกนำไปศึกษาต่อและผลักดันไปสู่การแก้ไขเชิงนโยบาย

ขั้นตอนในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือประมงที่ถูกทิ้ง

ขั้นตอนเหล่านี้ถูกออกแบบมาสำหรับนักดำน้ำลึก (SCUBA) ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรดำน้ำมาแล้ว และสามารถจำแนกชนิดของสิ่งมีชีวิตในทะเลได้ รวมทั้งต้องมีทักษะในการเก็บกู้เครื่องมือประมงอย่างปลอดภัย

การเก็บข้อมูลและการเก็บกู้เครื่องมือประมงประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนด้วยกันได้แก่

1.      การเก็บข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวันที่ สถานที่ ความลึกชนิดของเครื่องมือประมงที่พบ และชนิดของพื้นผิวที่เครื่องมือประมงครอบคลุม

2.      ประเมินความปลอดภัย ทั้งอันตรายจากสิ่งมีชีวิตที่มีพิษและสิ่งไม่มีชีวิต

3.      เก็บข้อมูลสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากเครื่องมือประมงที่ถูกทิ้งทั้งในแง่ของ ชนิด ปริมาณ และสภาพของสัตว์ชนิดนั้น ๆ

4.      เก็บกู้เครื่องมืออย่างปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งมีชีวิตบริเวณนั้น

5.      วัดขนาดของเครื่องมือประมง

(สำหรับขั้นตอนอย่างละเอียดสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่)

 

ปัญหาเครื่องมือประมงถูกทิ้งหรือสูญหายในทะเลนับเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร สัตว์จำนวนไม่น้อยที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์เหล่านี้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลากหลายด้านทั้งปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้และระบบการจัดการที่ยังไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอ เราในฐานะมนุษย์ผู้ใช้ทรัพยากรจากมหาสมุทรเพื่อดำรงชีวิต ควรที่จะตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาตามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง เพื่อรักษาระบบนิเวศอันล้ำค่านี้ไว้สืบต่อไป

References
  • Ballesteros,L. V., Matthews, J. L., & Hoeksema, B. W. (2018). Pollution and coral damage caused by derelict fishing gear on coral reefs around Koh Tao, Gulf of Thailand. Marine pollution bulletin, 135, 1107-1116.
  • Jambeck, J. R., Geyer, R., Wilcox, C., Siegler, T. R., Perryman, M., Andrady, A., & Law, K. L. (2015). Plastic waste inputs from land into the ocean. Science, 347 (6223), 768-771.
  • Kühn,S., Rebolledo, E. L. B., & Van Franeker, J. A. (2015). Deleterious effects of litter on marine life. Marine anthropogenic litter, 75-116.
  • Macfadyen,G., Huntington, T., & Cappell, R. (2009). Abandoned, lost or otherwise discarded fishing gear, 47-56.
  • Parton, K. J., Galloway, T. S., & Godley, B. J. (2019). Global review of shark and ray entanglement in anthropogenic marine debris. Endangered Species Research, 39, 173-190.
  • Richardson, K., Gunn, R., Wilcox, C., & Hardesty, B. D. (2018). Understanding causes of gear loss provides a sound basis for fisheries management. Marine Policy, 96, 278-284.